โรงเรียนวัดนาพรม(มนมหาวิริยาคาร)

หน้าหลัก aniblue02_tiltupdown_next_1.gif

แนะนำบทเรียน aniblue02_tiltupdown_next_1.gif

ทดสอบก่อนเรียน aniblue02_tiltupdown_next_1.gif

เข้าสู่บทเรียน aniblue02_tiltupdown_next_1.gif

แบบฝึกหัด aniblue02_tiltupdown_next_1.gif

ทดสอบหลังเรียน aniblue02_tiltupdown_next_1.gif

ผู้จัดทำ aniblue02_tiltupdown_next_1.gif

 

 

บทเรียน 1

ระบบย่อยอาหารของมนุษย์

          การย่อย หมายถึง  การทำให้สารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่กลายเป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลเล็ก
ลงจนกระทั่งแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ การย่อยอาหารในร่างกายมี 2 วิธี คือ
1. การย่อยเชิงกล    คือการบดเคี้ยวอาหารโดยฟัน เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลทำให้สารอาหารมี
ขนาดเล็กลง
2. การย่อยเชิงเคมี   คือการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของสารอาหารโดยใช้เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องทำให้
โมเลกุลของสารอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้โมเลกุลที่มีขนาดเล็กลง

กระบวนการย่อยอาหาร

1.ปาก เป็นอวัยวะแรกของระบบย่อยอาหาร ภายในประกอบด้วยฟันทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ลิ้น
ทำหน้าที่ส่งอาหารให้ฟันบดเคี้ยว และคลุกเคล้าอาหารให้อ่อนตัว ต่อมน้ำลาย มีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ในน้ำ
ลายคืออะไมเลส (98% ของน้ำลายคือน้ำ)

2.หลอดอาหาร ทำหน้าที่หดตัว บีบอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร เพราะหลอดอาหารมีผนังมีกล้ามเนื้อที่ยึด
และหดตัวได้ บริเวณคอหอยมีช่องเปิดเข้าสู่หลอดลมและหลอดอาหาร โดยส่วนบนของหลอดลมจะมีแผ่น
กระดูกอ่อนปิดกั้นกันอาหารไม่ให้เข้าสู่หลอดลม ไม่มีต่อมสร้างน้ำย่อยแต่มีต่อมขับน้ำเมือกช่วยให้อาหาร
ไหลผ่านได้สะดวก

3.กระเพาะอาหาร ผลิตกรดไฮโดรคลอริกและน้ำย่อยอาหารประเภทโปรตีนมีลักษณะเป็นถุง รูปร่างคล้ายตัว J ปกติกระเพาะอาหารที่ไม่มีอาหารจะมีขนาดประมาณ 45 มิลลิลิตร และสามารถขยายตัวเพื่อบรรจุอาหารได้ 1-1.5 ลิตร [2] กระเพาะอาหารสามารถย่อยได้โดยการบีบตัวทำให้อาหารแตกเป็นชิ้นเล็กๆ คลุกเคล้ากับน้ำ
ย่อยในกระเพาะ ซึ่งน้ำย่อยประกอบด้วยกรดที่ใช้ย่อยโปรตีนชื่อว่าเปปซินและเรนนิน

4.ลำไส้เล็ก ผลิตน้ำย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และดูดซึมสารอาหารเข้าสู่เซลล์มีรูป
ร่างเป็นท่อ ในลำไส้เล็กมีน้ำย่อยหลายชนิดใช้ย่อยอาหารได้ทุกประเภท ตั้งแต่คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ถ้าน้ำย่อยในลำไส้เล็กไม่พอจะมีน้ำย่อยจากตับและตับอ่อนเข้ามาช่วย โดยตับจะสร้างน้ำดีสำหรับย่อย
ไขมันให้มีขนาดเล็กลง นอกจากนี้ ลำไส้เล็กยังมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารเกือบทุกชนิดอีกด้วย

5.ลำไส้ใหญ่ ดูดซึมน้ำ แร่ธาตุ วิตามินบางชนิดและกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำในลำไส้
ใหญ่จะไม่มีการย่อยอาหาร ส่วนต้นของลำใส้ใหญ่มีไส้ติ่งซึ่งไม่ได้ช่วยย่อยอาหารแต่อย่างใด ส่วนปลายของลำไส้ใหญ่เป็นไส้ตรง เชื่อมต่อไปยังทวารหนัก

6.ทวารหนัก ขับถ่ายกากอาหาร

ระบบย่อยอาหาร ทำหน้าที่ย่อยอาหารให้เป็นสารอาหารขนาดเล็กแล้วจะถูกดูดซึม
เข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด แก๊สออกซิเจนที่ได้จากระบบหายใจ จะทำให้สารอาหาร
เกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นพลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ได้


 

 

 

 

 hand01_next.gif

 

 

ผลิตโดย ครุูวรรณภา  เสรีรักษ์   โรงเรียนวัดนาพรม(มนมหาวิริยาคาร)
หมู่ ๘ ตำบลนาพันสาม  อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
E-mail:wannapa2508@gmail.com

 

บทเรียนออนไลน์
วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของระบบต่างๆ ในร่างกาย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
โรงเรียนวัดนาพรม(มนมหาวิริยาคาร) อำเภอ เมือง จังหวัดเพชรบุรี
ครู วรรณภา  เสรีรักษ์